AIC อำนาจเจริญ ร่วมกับ บริษัท วินเทจ ฟาร์มดี และภาคีเครือข่าย ประชุมปรึกษาหารือยกร่างแผนพัฒนาสินค้า โดยใช้ตลาดนําการผลิต

                    เมื่อวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เวลา 13.30 น. ที่ห้องประชุม 50 ที่นั่ง อาคารเรียนรวม (ROOM 2215) ชั้น 2 มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอํานาจเจริญ นายแพทย์สุรพร ลอยหา รองอธิการบดีฝ่ายโครงการจัดตั้งวิทยาเขตอำนาจเจริญ (ประธาน AIC จ.อำนาจเจริญ) เป็นประธานการประชุมหารือยกร่างแผนพัฒนาสินค้า โดยใช้ตลาดนําการผลิต พร้อมด้วยคณะกรรมการ AIC จ.อำนาจเจริญ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอำนาจเจริญ(นางศศิมาภรณ์ พันธโคตร เป็นเลขานุการ) ผู้จัดการบริษัท วินเทจ ฟาร์มดี (นายฤทธิรงค์ โคตะพันธุ์) “นำเสนอแผนพัฒนาสินค้าจังหวัดอำนาจเจริญ ด้วยหลักตลาดนำการผลิต” 1.ชนิดสินค้าที่ต้องการ 2.ปริมาณ 3.มาตรฐานที่ต้องการ 4.ขนาดบรรจุ 5.บรรจุภัณฑ์ /การออกแบบบรรจุภัณฑ์ 6.มาตรฐานโรงงาน 7.ใบอนุญาตสถานที่ผลิตอาหาร 8.คุณภาพผลผลิต การตรวจรับรองหาสารเคมีตกค้าง 9.การแปรรูป 10.การขนส่ง 11.ราคารับซื้อต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ทั้งนี้มีภาคีเครือข่ายในจังหวัดอำนาจเจริญ เข้าร่วมประชุมหารือฯ ในวันและเวลาดังกล่าว

                   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดําเนินการขับเคลื่อนศูนย์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 ภายใต้การดําเนินงานโดยคณะกรรมการขับเคลื่อนเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ในการจัดตั้งศูนย์ เทคโนโลยีการเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) กับมหาวิทยาลัย หรือสถาบันการศึกษาในพื้นที่ 77 จังหวัด โดยจังหวัดอํานาจเจริญมี มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตอํานาจเจริญ เป็นที่ตั้งศูนย์ AIC ประจําจังหวัด ที่เป็นแหล่งบริการเกษตรกรที่รวบรวมองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและ นวัตกรรมการเกษตร สามารถนําองค์ความรู้ต่าง ๆ ไปใช้พัฒนาต่อยอดการผลิต สามารถลดต้นทุนการผลิต สินค้าเกษตร และให้สินค้ามีคุณภาพและมาตรฐาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบแนวทาง การขับเคลื่อนงานด้านเกษตรกรรม ตามนโยบาย “ตลาดนําการผลิต” ให้แก่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งระดับพื้นที่และส่วนกลาง โดยให้มีการปรับภารกิจและบทบาทใหม่ครอบคลุมงานด้านการ ส่งเสริมสนับสนุนการผลิต และด้านการประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่าง ๆ เพื่อให้ เกษตรกรมีช่องทางจําหน่ายหรือมีตลาดรองรับผลผลิต ดําเนินการขับเคลื่อนนโยบายการตลาดนําการผลิต ในการรวบรวมผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่โดดเด่นของจังหวัด และรวบรวมความต้องการของผู้ซื้อ รวมทั้งแนวทางวิธีการ และช่องทางในการจับคู่การค้า (Matching) ผู้ซื้อ/ผู้ผลิต

                   รายละเอียดเพิ่มเติมคลิก